ไทย
English 中国 臺灣 香港 한국어 Indonesia
หมวด
All ที่พัก เที่ยว กิน ซื้อ ชม ฤดูกาล
ภูมิภาค
  • area ทั้งหมด
  • โตเกียว
    โตเกียว (Tokyo)
  • ฮอกไกโด
    ฟุราโนะ (Furano) ฮาโกดาเตะ (Hakodate) ฮอกไกโด (Hokkaido) ซัปโปโร (Sapporo)
  • โทโฮะคุ
    อาคิตะ (Akita) อาโอโมริ (Aomori) ฟุคุชิม่า (Fukushima) อิวาเตะ (Iwate) มิยางิ (Miyagi) ยามากาตะ (Yamagata)
  • คันโต
    ชิบะ (Chiba) กุนมะ (Gunma) ฮาโกเน่ (Hakone) อิบารากิ (Ibaraki) คานากาว่า (Kanagawa) ไซตามะ (Saitama) โทะชิงิ (Tochigi) โยโกฮาม่า (Yokohama)
  • จูบุ
    ไอจิ (Aichi) ภูเขาไฟฟูจิ (Mt.Fuji) ฟุคุอิ (Fukui) กิฟุ (Gifu) อิชิคาว่า (Ishikawa) อิซุ (Izu) คานาซาวะ (Kanazawa) คารุอิซาว่า (Karuizawa) นากาโนะ (Nagano) นาโกย่า (Nagoya) นิงาตะ (Niigata) ชิซูโอกะ (Shizuoka) โทยามะ (Toyama) ยามานาชิ (Yamanashi)
  • คันไซ
    เฮียวโกะ (Hyogo) เกียวโต (Kyoto) มิเอะ (Mie) นาระ (Nara) โอซาก้า (Osaka) ชิกะ (Shiga) วากายามะ (Wakayama)
  • จูโกะคุ
    ฮิโรชิมา (Hiroshima) โอคายาม่า (Okayama) ชิมาเนะ (Shimane) ทตโตริ (Tottori) ยามากุจิ (Yamaguchi)
  • ชิโกะคุ
    เอฮิเมะ (Ehime) คางาวะ (Kagawa) โคจิ (Kochi) โทคุชิมะ (Tokushima)
  • คิวชู
    ฟุกุโอกะ (Fukuoka) คาโกชิม่า (Kagoshima) คุมาโมโต้ (Kumamoto) มิยาซากิ (Miyazaki) นางาซากิ (Nagasaki) โออิตะ (Oita) ซากะ (Saga)
  • โอกินาว่า
    โอกินาว่า (Okinawa)
Feature
Video

เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
Privacy policy
企業の皆様へ
ไทย
English
中国
臺灣
香港
한국어
Indonesia
ภูมิภาค ที่พัก เที่ยว กิน ซื้อ ชม ฤดูกาล
IKIDANE NIPPON
Feature Video
ภูมิภาค ที่พัก เที่ยว กิน ซื้อ ชม ฤดูกาล
  • TOP
  • Feature
  • KAROSHI (過労死)การทำงานหนักจนเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่น นำพาไปสู่การปฏิวัติระบบการทำงานของญี่ปุ่นในปัจจุบัน

2018-06-15

KAROSHI (過労死)การทำงานหนักจนเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่น นำพาไปสู่การปฏิวัติระบบการทำงานของญี่ปุ่นในปัจจุบัน

©IKIDANENIPPON

เป็นที่รู้จักกันดีว่าประเทศญี่ปุ่นมีประชากรที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเป็นอันดับต้นๆ
แต่นอกเหนือจากการฆ่าตัวตายแล้วยังมีการที่ทำงานหนักจนเสียชีวิตด้วย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับคำว่า Karoshi(過労死) ที่มีความหมายว่า การเสียชีวิตจากการทำงานหนัก

KAROSHI(過労死)

หมายถึง การทำงานหนักเกินกว่าชม.ทำงานที่กำเนิด หรือเกินกว่าที่ร่างกายทนไหว ขาดการพักผ่อนที่เพียงพอจนทำให้เส้นเลือดในสมองตีบหรือเส้นเลือดในสมองแตก ก่อให้เกิดอาการปวดหัว มือเท้าชา จนก่อให้เกิดอาการเสียชีวิตฉับพลัน หรือในบางรายนั้นมีอาการซึมเศร้า เครียดและฆ่าตัวตายในที่สุด

ในภาษาอังกฤษมีการบันทึกคำว่า KAROSHI ลงในพจนานุกรม เป็นคำที่ใช้กันในทั่วโลก

อาการของ KAROSHI

ก่อนเกิดอาการเสียชีวิตนั้นจะมีอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะและคลื่นไส้
เป็นอาการที่ร่างกายกำลังบอกกำลังฝืนตัวเองอยู่ แต่ตัวเองบอกว่า “ยังไหวอยู่” ฝืนต่อไปเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด

อาการเสียชีวิต 4 รูปแบบที่นับเป็นการเสียชีวิตจากการทำงานหนัก
① โรคหัวใจ ทำงานหนักจนเกิดความผิดปกติที่หัวใจจนถึงแก่ความตาย
อาการ : ใจเต้นแรง ล้าที่แขนข้างซ้าย รู้สึกแปลกๆจากช่องท้องลามขึ้นมา เมื่อรู้สึกตื่นเต้นหรือกังวลจะรู้สึกร้อนที่อกจนทนแทบไม่ไหว
② เส้นเลือดในสมองแตก เป็นหนึ่งอาการที่ทำงานหนักจนเกิดความผิดปกติในสมอง เส้นเลือดในสมองแตกและเสียชีวิต
อาการ : เวียนหัวจนรู้สึกเดินตรงๆไม่ได้, บางทีฟังจับใจความไม่ค่อยได้ ไม่มีสมาธิ, อยู่ๆก็หมดแรงทำของหล่นบ่อยๆ, บางทีตาลายเห็นภาพซ้อนกัน
③ ทำงานหนักจนฆ่าตัวตาย ทำงานหนักและมีอาการเครียดจนมีปัญหาทางสภาพจิตใจ จนท้ายที่สุดทรมานจนฆ่าตัวตาย
อาการ : ร่างกายอ่อนล้าไม่มีแรง เหนื่อยง่าย ทำอะไรก็รู้สึกไม่สนุกเหมือนเดิม มีอาการซึมเศร้า ขาดแรงจูงใจ
④ ทำงานหนักนอนไม่เพียงพอ จนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น เกิดอาการหลับในระหว่างขับรถจนเกิดอุบัติเหตุ หรือแช่น้ำร้อนในอ่างที่บ้านแล้วหลับจมน้ำเสียชีวิต
อาการ : ตามที่กล่าวข้างต้น

หากเปรียบเทียบการทำงานกับรถแล้ว
KAROSHI นั้นเปรียบเสมือนเรากำลังใช้ร่างกายเราอย่างเต็ม MAX เหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูง ไม่มีการบำรุงรักษาสภาพของรถยนต์ แต่พวกเขาไม่รู้สึกตัวและยังคงวิ่งต่อ ยังคงบอกตัวเองว่า “ยังไหวอยู่” จนในที่สุดก็พังลง

ทำไมคนบางส่วนถึงเลือกที่จะปลิดชีพตัวเอง แทนการลาออกจากงาน

หลายคนอาจคิดว่าทำไมต้องทำขนาดนั้น? ไม่เห็นต้องฆ่าตัวตายเลย ก็ลาออกจากงานก็ได้นี่นา?
ผู้ที่ทำงานจนเสียชีวิตหลายคนนั้นเป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัย ความรับผิดชอบสูง แบกรับภาระมากเกินไปจนเกิดอาการซึมเศร้าจนควบคุมและตัดสินใจไม่ได้ หากไม่ได้อยู่ในจุดเดียวกับพวกเขาไม่มีวันที่จะเข้าใจอย่างแน่นอน หากมีคนรอบข้างที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่อย่าตอกย้ำพวกเขาด้วยการบอกว่า “ทำไมไม่ทำแบบนี้ล่ะ?” ยิ่งเป็นการทำร้ายจิตใจของพวกเขา คนปกติทั่วไปไม่มีทางเข้าใจหากไม่ได้อยู่ในจุดนั้น

ทำOTเกินกี่ชม.ถึงเรียกว่าอันตราย?

โดยวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นนั้นพนักงานจะต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำ OT นั่นเอง บริษัทที่ก่อตั้งมานานหลายบริษัท หรือผู้บริหารคนรุ่นเก่ายังคงวัฒนธรรมนี้ไว้
จากข่าวเกี่ยวกับ KAROSHI ในประเทศญี่ปุ่นตลอดช่วงเวลาที่ผ่านทำให้ทราบตัวเลขที่ชัดเจนมากขึ้นถึงขีดจำกัดของจำนวนการทำงานล่วงเวลา โดยส่วนมากผู้เสียชีวิตทำงานล่วงเวลาถึง 80-100 ชม.ต่อเดือน

ทำไมถึง80-100ชม.?

นั่นก็เพราะว่าร่างกายของมนุษย์ที่ควรพักผ่อนต่อวันนั้นคือ 6-8 ชั่วโมง
หากพักผ่อนน้อยกว่า 6 ชม.เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ และระบบในสมองผิดปกติจะเพิ่มขึ้น
ผู้ที่นอนไม่ถึง 5 ชม.ต่อวันคาดการณ์ได้ว่าทำงานล่วงเวลา 80-100 ชม.ต่อเดือน และมีความเสี่ยงการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ปฏิวัติการทำงานของญี่ปุ่น

เรามักพบเห็นข่าวการเสียชีวิตจากการทำงานหนักในญี่ปุ่นอยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาหลายปี สังคมเริ่มมีการประนามบริษัทที่ให้พนักงานทำงานหนักจนเสียชีวิต บริษัทใหญ่ๆส่วนใหญ่จึงเริ่มมีการไล่พนักงานกลับ ให้พนักงานกลับตรงเวลา ไม่ให้ทำ OT

ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กฎหมายบังคับให้ผู้คนทำงานน้อยลง
ถึงชาวไทยผู้ที่ขยันทำงานทุกคนด้วยเช่นกัน ทำงานหลักและทำงานนอกควบคู่ เสาร์อาทิตย์ก็นั่งทำงาน ความขยันเป็นสิ่งที่ดีแต่อย่าลืมคุยกับตัวเองด้วยนะคะ สิ่งของยังสามารถซื้อเปลี่ยนใหม่ได้ แต่ร่างกายของเรานั้นไม่สามารถเปลี่ยนทดแทนได้


★ คูปองส่วนลดในการช็อปปิ้งญี่ปุ่น ต้อง IKIDANE App★
iOS
Android

หากชอบบทความของเรา สามารถติดตาม Facebook FanPage ของเราได้

บทความเกี่ยวข้อง

  • การทำงานของคนญี่ปุ่น ที่ชาวต่างชาติอย่างเราไม่เข้าใจ!!

  • Sumikko…คาแรคเตอร์สะท้อนนิสัยคนญี่ปุ่น

  • ก้านใต้ถ้วยพุดดิ้งมีไว้ทำอะไร? สุดยอดแพ็คเกจญี่ปุ่น

จองได้ที่นี่!

  • KKday เว็ปไซต์ที่รวบรวมทัวร์รูปแบบต่างๆไว้มากกว่า 53 ประเทศทั่วโลก มาค้นหาทัวร์ทดลองสัมผัสประสบการณ์ในญี่ปุ่นกันเถอะ!

  • 48% OFF Sanrio Puroland E-Tickets for Hello Kitty Theme Park

  • Tokyo Disneyland Tickets 1 Day Pass (Direct Entry Tickets)

  • Universal Studios Japan™ Osaka 1 Day Studio Pass E-tickets

  • One Piece Tower Tokyo E-Tickets

Page Top

IKIDANE NIPPON
IKIDANE NIPPON
ภูมิภาค ที่พัก เที่ยว กิน ซื้อ ชม ฤดูกาล
Feature Video
เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา Privacy policy 企業の皆様へ
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • Privacy policy
  • 企業の皆様へ
©IKIDANE NIPPON. All Rights Reserved.